กระดาษเช็ดปาก.com
บิลเลี่ยน มิลเลี่ยน ผู้ผลิตและจำหน่าย กระดาษเช็ดปาก ทิชชู่เช็ดปาก ชนิดป๊อบอัพ และชนิดแผ่นพับ มีหลายขนาดให้เลือก พิมพ์ตราโลโก้ลูกค้า สำหรับภัตตาคาร ร้านอาหาร โรงอาหารทั่วไป และในสำนักงาน ราคาถูก ปลอดภัย ไร้สารเรืองแสง ผลิตด้วยกรรมวิธีทันสมัย พร้อมกล่องบรรจุดีไซน์ทันสมัย เหนียว นุ่ม ไม่ขาดง่าย ซับคราบน้ำและไขมันได้ดี
การใช้กระดาษชำระผิดประเภท ทำให้เกิดอันตรายโดยที่คุณไม่รู้ตัว | กระดาษเช็ดปาก.com
Site last published: 12/7/11
การใช้กระดาษชำระผิดประเภท ทำให้เกิดอันตรายโดยที่คุณไม่รู้ตัว
19/11/11 10:39
ในปัจจุบันคงไม่มีใครไม่รู้จักกระดาษชำระ หรือที่เรียกกันง่ายๆว่า “กระดาษทิชชู” ซึ่งเราสามารถพบได้ในทุกหนทุกแห่งเพราะมันเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมาก ไม่เพียงแต่จะใช้เช็ดทำความสะอาดเท่านั้น กระดาษชำระยังสามารถนำไปสร้างงานประดิษฐ์ต่างๆได้อีกด้วย นับว่ากระดาษชำระเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกที่ผูกพันกับชีวิตประจำวันของคน เราเป็นอย่างมาก แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบว่าในการที่กระดาษชำระมีประโยชน์มากมายกับเรา ในมุมกลับกันกระดาษชำระเองเองก็มีโทษที่เราๆท่านๆนึกไม่ถึงเหมือนกัน ดังนั้นเราจึงควรมาดูกันว่า โทษของกระดาษชำระนั้นเป็นอย่างไร เป็นอันตรายแค่ไหนและเราควรระมัดระวังในการใช้กระดาษชำระเพื่อไม่ให้เกิดโทษ อย่างไร
ก่อน อื่น เรามาทำความรู้จักกับกระดาษชำระ หรือ “กระดาษทิชชู” ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันว่ามีที่มาอย่างไร และมีประเภทไหนบ้างกระดาษชำระ หรือ "กระดาษทิชชู" มีหลายประเภท เราควรเลือกใช้ให้ถูกงานถูกหน้าที่ "กระดาษชำระ" ซึ่งเป็นที่นิยม เพราะราคาถูกควรถูกนำไปใช้บนโต๊ะอาหารหรือไม่ และทำไม พบคำตอบได้ที่นี่ ถ้าพูดถึง "ทิชชู" (Tissue) หรือกระดาษทิชชู่ ส่วนใหญ่เรามักเหมารวมว่า หมายถึง "กระดาษสีขาว เนื้อบางเบา" ที่มีคุณสมบัติซึมซับน้ำได้ดี เป็นสินค้าจำเป็นประจำครัวเรือน สำนักงาน ร้านอาหารหรือเกือบในทุกสถานที่ทุกแห่ง ที่มีคนอยู่ก็ว่าได้ "ทิชชู่" มักถูกนึกถุกในเวลาฉุกเฉิน เอาไว้เช็ดทำความสะอาด
เดิม ขนาดมาตรฐานของกระดาษชำระ ได้แก่ กว้าง 4.5 นิ้ว ยาว 4.5 นิ้ว ซึ่งยังคงเป็นขนาดมาตรฐานของกระดาษชำระที่ใช้กันในปัจจุบัน แต่บริษัทผู้ผลิตบางรายได้ปรับลดขนาดลง โดยยังคงความยาวไว้ที่ 4.5 นิ้ว แต่ปรับลดความกว้างลงเล็กน้อย โดยปกติกระดาษชำระแบบแผ่นเดียว 1 ม้วนจะประกอบด้วยกระดาษชำระประมาณ 1,000 แผ่น ในขณะที่กระดาษชำระแบบ 2 แผ่นประกบ 1 ม้วนจะประกอบด้วยกระดาษชำระประมาณ 500 แผ่นแต่ทั้งนี้ในปัจจุบัน ผู้ผลิตได้ปรับเปลี่ยนขนาดเพื่อสร้างกลไกการตลาด เช่น ทำม้วนที่มีจำนวนแผ่นมากขึ้น หรือน้อยลง เพื่อกลยุทธ์ด้านราคา กระดาษทิชชูนั้นมีอยู่หลายประเภท สามารถแบ่งออกตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่ 1. กระดาษชำระ (Toilet tissue) 2. กระดาษเช็ดหน้า (Facial tissue) 3. กระดาษเช็ดปาก (Paper Napkin) 4. กระดาษเช็ดมือ (Paper Hand towel) 5. กระดาษเอนกประสงค์ แต่ ดูเหมือนว่าคนไทยอย่างเราๆ จะใช้ทิชชูโดยไม่ได้คำถึงถึงประเภทของทิชชู เรามักเห็นกระดาษชำระวางอยู่บนโต๊ะอาหารหรือถูกนำไปเช็ดหน้าเช็ดตา หรือแม้กระทั่งเอาไว้ห่อหรือวางรองอาหารด้วยซ้ำ โดยที่ไม่คิดรังเกียจใดๆ ทั้งที่ "กระดาษชำระ" นั้นคือกระดาษเหมาะสำหรับทำความสะอาดหลังขับถ่าย เป็นกระดาษย่น นุ่ม ดูดซึมน้ำได้ดีและยุ่ยง่ายเมื่อถูกน้ำ (ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมมอก.214/2530)
ด้วย ความที่เราใช้กระดาษชำระชำระกันไปเสียแทบทุกอย่าง จึงมีข้อสงสัยว่ากระดาษชำระดังกล่าวมีความสะอาดและปลอดภัยมากแค่ไหน ทั้งนี้ หลังจากพลิกอ่านคู่มือมาตรฐานอุตสาหกรรมกระดาษทิชชู พบว่า ตามมาตรฐานของกระดาษชำระ จะเน้นความสำคัญไปที่การซึมซับน้ำ การย่อยสลาย ขนาดและจุดสกปรก ซึ่งเมื่อดูจากตาเปล่า เราไม่สามารถเห็นสิ่งปกติใดๆ แต่ความจริงแล้วมันมีสิ่งแปลกปลอมใดๆ แฝงอยู่หรือไม่
เราได้ส่งตัวอย่างกระดาษชำระ ทั้งแบบเกรดเอและบี 24 ตัวอย่างไปตรวจสอบในห้องปฏิบัติกลางประเทศไทย จำกัด เพื่อทดสอบหาปริมาณจุลินทรีย์ชนิดก่อโรค ได้แก่ Bacillus cereus, Staphylococcous, Escherichis coli, Salmonella, Yeast and mold และ Total Plate Count ซึ่งล้วนแต่เป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคทางระบบทางเดินอาหาร เช่น อาหารเป็นพิษ โรคอุจจาระร่วง เป็นต้น ผลการทดสอบพบว่า ทุกยี่ห้อมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในปริมาณน้อยมาก ไม่ก่อให้เกิดโรค อย่างไรก็ตามยังถือว่าไม่ปลอดจุลินทรีย์ ดังนั้น จึงควรใช้กระดาษชำระให้ถูกกับงาน การนำไปใช้ผิดงาน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งนำไปเช็ดหน้าเช็ดตานำไปห่ออาหาร หรือนำไปรองอาหารต่างๆ) เพราะอาจก่อให้มีจุลินทรีย์ปนเปื้อนในอาหารที่เราห่อหรือวางไว้ และอาจจะทำให้หน้าตาของเราสกปรกมีเชื้อโรคอยู่ อาจจะทำให้เกิดสิวขึ้นได้ และหากทิ้งไว้เป็นเวลานาน เมื่อสิ่งที่ถูกเช็ดมีสภาวะเหมาะสมต่อการเติบโตของจุลินทรีย์ จุลินทรีย์จะสามารถขยายตัวและสะสมในสิ่งของนั้นได้ จนอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราท่านได้
เพราะ ฉะนั้นก่อนที่เราจะนำกระดาษชำระ หรือ “กระดาษทิชชู” ไปใช้ทำอะไรนั้นควรคิดถึงความเหมาะสมของสิ่งของที่เราจะนำไปกระดาษชำระไปใช้ ด้วย อย่างเช่น เราไม่ควรนำกระดาษชำระไปห่ออาหาร หรือรองวางอาหาร หรือนำไปเช็ดหน้าเช็ดตาเพราะถึงแม้ว่าจะมีจุลินทรีย์อยู่ในจำนวนไม่มาก แต่ก็ถือว่ากระดาษชำระก็ยังไม่ใช่ของที่ปลอดเชื้อ 100% เราจึงควรป้องกันไว้ก่อนจะดีกว่า และคำนึงไว้เสมอว่าจะใช้อะไรก็ตาม ก็ควรใช้งานของสิ่งนั้นให้เหมาะสมกับงานเพื่อจะได้เกิดประสิทธิภาพอย่าง สูงสุด
เอกสารอ้างอิง ................................................................................................................................................................................................................................................... http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=9880.0 http://www.oknation.net/blog/neemoclub/2009/11/24/entry-1 http://th.wikipedia.org/wiki/
ก่อน อื่น เรามาทำความรู้จักกับกระดาษชำระ หรือ “กระดาษทิชชู” ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันว่ามีที่มาอย่างไร และมีประเภทไหนบ้างกระดาษชำระ หรือ "กระดาษทิชชู" มีหลายประเภท เราควรเลือกใช้ให้ถูกงานถูกหน้าที่ "กระดาษชำระ" ซึ่งเป็นที่นิยม เพราะราคาถูกควรถูกนำไปใช้บนโต๊ะอาหารหรือไม่ และทำไม พบคำตอบได้ที่นี่ ถ้าพูดถึง "ทิชชู" (Tissue) หรือกระดาษทิชชู่ ส่วนใหญ่เรามักเหมารวมว่า หมายถึง "กระดาษสีขาว เนื้อบางเบา" ที่มีคุณสมบัติซึมซับน้ำได้ดี เป็นสินค้าจำเป็นประจำครัวเรือน สำนักงาน ร้านอาหารหรือเกือบในทุกสถานที่ทุกแห่ง ที่มีคนอยู่ก็ว่าได้ "ทิชชู่" มักถูกนึกถุกในเวลาฉุกเฉิน เอาไว้เช็ดทำความสะอาด
เดิม ขนาดมาตรฐานของกระดาษชำระ ได้แก่ กว้าง 4.5 นิ้ว ยาว 4.5 นิ้ว ซึ่งยังคงเป็นขนาดมาตรฐานของกระดาษชำระที่ใช้กันในปัจจุบัน แต่บริษัทผู้ผลิตบางรายได้ปรับลดขนาดลง โดยยังคงความยาวไว้ที่ 4.5 นิ้ว แต่ปรับลดความกว้างลงเล็กน้อย โดยปกติกระดาษชำระแบบแผ่นเดียว 1 ม้วนจะประกอบด้วยกระดาษชำระประมาณ 1,000 แผ่น ในขณะที่กระดาษชำระแบบ 2 แผ่นประกบ 1 ม้วนจะประกอบด้วยกระดาษชำระประมาณ 500 แผ่นแต่ทั้งนี้ในปัจจุบัน ผู้ผลิตได้ปรับเปลี่ยนขนาดเพื่อสร้างกลไกการตลาด เช่น ทำม้วนที่มีจำนวนแผ่นมากขึ้น หรือน้อยลง เพื่อกลยุทธ์ด้านราคา กระดาษทิชชูนั้นมีอยู่หลายประเภท สามารถแบ่งออกตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่ 1. กระดาษชำระ (Toilet tissue) 2. กระดาษเช็ดหน้า (Facial tissue) 3. กระดาษเช็ดปาก (Paper Napkin) 4. กระดาษเช็ดมือ (Paper Hand towel) 5. กระดาษเอนกประสงค์ แต่ ดูเหมือนว่าคนไทยอย่างเราๆ จะใช้ทิชชูโดยไม่ได้คำถึงถึงประเภทของทิชชู เรามักเห็นกระดาษชำระวางอยู่บนโต๊ะอาหารหรือถูกนำไปเช็ดหน้าเช็ดตา หรือแม้กระทั่งเอาไว้ห่อหรือวางรองอาหารด้วยซ้ำ โดยที่ไม่คิดรังเกียจใดๆ ทั้งที่ "กระดาษชำระ" นั้นคือกระดาษเหมาะสำหรับทำความสะอาดหลังขับถ่าย เป็นกระดาษย่น นุ่ม ดูดซึมน้ำได้ดีและยุ่ยง่ายเมื่อถูกน้ำ (ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมมอก.214/2530)
ด้วย ความที่เราใช้กระดาษชำระชำระกันไปเสียแทบทุกอย่าง จึงมีข้อสงสัยว่ากระดาษชำระดังกล่าวมีความสะอาดและปลอดภัยมากแค่ไหน ทั้งนี้ หลังจากพลิกอ่านคู่มือมาตรฐานอุตสาหกรรมกระดาษทิชชู พบว่า ตามมาตรฐานของกระดาษชำระ จะเน้นความสำคัญไปที่การซึมซับน้ำ การย่อยสลาย ขนาดและจุดสกปรก ซึ่งเมื่อดูจากตาเปล่า เราไม่สามารถเห็นสิ่งปกติใดๆ แต่ความจริงแล้วมันมีสิ่งแปลกปลอมใดๆ แฝงอยู่หรือไม่
เราได้ส่งตัวอย่างกระดาษชำระ ทั้งแบบเกรดเอและบี 24 ตัวอย่างไปตรวจสอบในห้องปฏิบัติกลางประเทศไทย จำกัด เพื่อทดสอบหาปริมาณจุลินทรีย์ชนิดก่อโรค ได้แก่ Bacillus cereus, Staphylococcous, Escherichis coli, Salmonella, Yeast and mold และ Total Plate Count ซึ่งล้วนแต่เป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคทางระบบทางเดินอาหาร เช่น อาหารเป็นพิษ โรคอุจจาระร่วง เป็นต้น ผลการทดสอบพบว่า ทุกยี่ห้อมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในปริมาณน้อยมาก ไม่ก่อให้เกิดโรค อย่างไรก็ตามยังถือว่าไม่ปลอดจุลินทรีย์ ดังนั้น จึงควรใช้กระดาษชำระให้ถูกกับงาน การนำไปใช้ผิดงาน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งนำไปเช็ดหน้าเช็ดตานำไปห่ออาหาร หรือนำไปรองอาหารต่างๆ) เพราะอาจก่อให้มีจุลินทรีย์ปนเปื้อนในอาหารที่เราห่อหรือวางไว้ และอาจจะทำให้หน้าตาของเราสกปรกมีเชื้อโรคอยู่ อาจจะทำให้เกิดสิวขึ้นได้ และหากทิ้งไว้เป็นเวลานาน เมื่อสิ่งที่ถูกเช็ดมีสภาวะเหมาะสมต่อการเติบโตของจุลินทรีย์ จุลินทรีย์จะสามารถขยายตัวและสะสมในสิ่งของนั้นได้ จนอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราท่านได้
เพราะ ฉะนั้นก่อนที่เราจะนำกระดาษชำระ หรือ “กระดาษทิชชู” ไปใช้ทำอะไรนั้นควรคิดถึงความเหมาะสมของสิ่งของที่เราจะนำไปกระดาษชำระไปใช้ ด้วย อย่างเช่น เราไม่ควรนำกระดาษชำระไปห่ออาหาร หรือรองวางอาหาร หรือนำไปเช็ดหน้าเช็ดตาเพราะถึงแม้ว่าจะมีจุลินทรีย์อยู่ในจำนวนไม่มาก แต่ก็ถือว่ากระดาษชำระก็ยังไม่ใช่ของที่ปลอดเชื้อ 100% เราจึงควรป้องกันไว้ก่อนจะดีกว่า และคำนึงไว้เสมอว่าจะใช้อะไรก็ตาม ก็ควรใช้งานของสิ่งนั้นให้เหมาะสมกับงานเพื่อจะได้เกิดประสิทธิภาพอย่าง สูงสุด
เอกสารอ้างอิง ................................................................................................................................................................................................................................................... http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=9880.0 http://www.oknation.net/blog/neemoclub/2009/11/24/entry-1 http://th.wikipedia.org/wiki/